วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติกรุงรัตนโกสินทร์

ประวัติกรุงรัตนโกสินทร์







กรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๐๙ - กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๕๔๙สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์นักรบอีกพระองค์หนึ่งของชาติไทย ที่มีอัจฉริยะภาพทางการทหารอย่างหาผู้ใดเทียมมิได้ สิบห้าปีตลอดรัชกาลทรงตรากตรำทำศึกไม่เว้นแต่ละปี หัวเมืองใหญ่น้อยและอาณาจักรใกล้เคียงต่างครั่นคร้ามในพระบรมเดชานุภาพ กองทหารม้าอันเกรียงไกรของพระองค์นั้น เป็นต้นแบบในการรุกรบยุคต่อมา เป็นตัวอย่างอันดีของทหารในยุคปัจจุบันคือ ทหารต้องรู้จักคิด รู้จักพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพด้วยตนเอง ต้องเอาบ้านเมืองเป็นหลักเป็นที่ตั้ง ต่อให้มียศเป็นพระยานาหมื่นหากไม่มีบ้านเมืองเป็นหลักชัยแล้ว ยศศักดิ์นั้นไหนเลยจะมีค่า การศึกในหลายๆครั้งกับพม่านั้น พระองค์ก็อยู่ในสภาวะที่มิต่างอะไรจากสมเด็จพระนเรศวรฯ คือมีกำลังน้อยกว่าแทบจะทุกครั้ง แต่พระองค์ก็สามารถเอาชัยได้จากพระวิริยะอุตสาหะ และพระปรีชาสามารถทางการทหาร ทรงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ล้าหลัง ที่ศัตรูรู้ ที่ใครๆก็รู้ ทรงกล้าที่จะปฎิวัติความเชื่อใหม่ๆที่ทหารควรจะใช้เพื่อให้เหมาะกับสถานณการณ์ที่คับขัน การคุมพลยกแหกวงล้อมพม่าจากค่ายวัดพิชัยนั้น ถือได้ว่าเป็นทหารหนีทัพที่คิดกบฎเป็นทุรยศต่อแผ่นดิน แต่พระองค์ก็มิได้ลังเลที่จะทรงกระทำเพื่อบ้านเมืองในวันข้างหน้า หากพระองค์ไม่คิดเอาบ้านเมืองเป็นหลักชัยแล้ว ไหนเลยจะย้อนกลับมาเพื่อกู้กรุงในอีกแปดเดือนถัดมา ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ยศศักดิ์ต่างๆที่พระองค์มีในตำแหน่งพระยาวชิรปราการ ผู้รั้งเมืองกำแพงเพชรนั้น หาได้มีความสำคัญต่อพระองค์ไม่แม้แต่น้อย ทรงรู้ดีว่า เมื่อสิ้นชาติ ยศศักดิ์ใดๆก็ไม่มีความหมาย และในพระนครนั้นก็ไม่มีขุนทหารผู้ใหญ่คนใดที่จะมีน้ำใจและกล้าหาญที่พอจะรักษาชาติไว้ได้ พระองค์จึงกระทำการอันที่ยากที่ทหารคนใดผู้ใดจะกล้าทำ*

**ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกนั้น หัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายที่อยู่ในอำนาจของอยุธยานั้น ต่างมิได้ทำการช่วยอยุธยารบพม่าแต่อย่างใด ต่างคนต่างตั้งตัวเป็นอิสระ นิ่งเฉยดูดายต่อชะตากรรมของพระนคร มีเพียงชาวบ้านบางระจันเท่านั้น ที่ช่วยอยุธยาต่อสู้กับพม่าในเส้นทางเดินทัพของเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าทัพที่สอง
ทัพที่หนึ่งของพม่านั้นมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ทำหน้าทียกไปล้อมอยุธยาทางทิศใต้ของพระนคร ตลอดหัวเมืองรายทางของทั้งสองทัพของพม่านั้น ต่างอ่อนน้อมต่อพม่าไม่ทำการต่อสู้ ขณะนั้นกษัตริย์พม่าคือ พระเจ้ามังระ ซึ่งเพิ่งขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ เห็นอยุธยาอ่อนแอและมั่งคั่งยิ่งนัก จึงคิดจะปราบอยุธยาเพื่อให้อาณาจักรอื่นกลัวเกรงในอำนาจ จึงให้สองแม่ทัพยกพลไปตีอยุธยา เหตุที่พระเจ้ามังระทรงไม่คุมทัพมาเองเพราะรู้ดีว่าอยุธยาอ่อนแอและแตกแยก ทรงรู้ได้จากข่าวสารของไส้ศึกที่ส่งเข้าไปบ่อนทำลายและแทรกซึมในทุกวงการทุกชนชั้นของอยุธยา จึงให้เพียงแม่ทัพผู้ใหญ่ทั้งสองยกไปเองเท่านั้น ดูเอาเถิดเหตุการณ์เหมือนกรุงเทพ พ.ศ.๒๕๔๙มั้ย**

***พระเจ้าตากสินฯทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่เริ่มทุกอย่างจากศูนย์ จากที่มีทหารเพียงแค่ห้าร้อยคน ทรงกระทำการจากเล็กๆเรื่อยไปจนถึงการใหญ่ซึ่งนั่นคือการ สถาปนากรุงธนบุรี ราชธานีใหม่ที่มีกองทัพกว่าสองแสนคน ไว้เป็นที่สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับคนไทย การเมืองการปกครองในกรุงธนบุรีในยุคเริ่มแรกนั้นร่มเย็นเป็นสุข เพราะกรุงธนบุรีมักจะเป็นฝ่ายรุกในเรื่องของการทหาร ไพร่ฟ้าประชาชนในเมืองจะปลอดภัยจากข้าศึก เพราะกองทัพของพระเจ้าตากสินฯจะยกพลไปรบในดินแดนข้าศึกเป็นส่วนใหญ่ พระเจ้าตากสินฯทรงมีนโยบายทางการทหารเป็นแนวเชิงรุก อาณาจักรใกล้เคียงต่างยอมอยู่ใต้เศวตฉัตร เพราะกรุงธนบุรีมีกองทัพที่เข้มแข็งและยุทธวิธีในการรบก็ไม่เหมือนใครเป็นแบบใหม่ที่ไม่อาจมีใครแก้ทางศึกได้ พระราชอาณาจักรจึงกว้างขวางยิ่งกว่าในสมัยราชธานีเดิม แม้แต่กษัตริย์มังระของพม่าก็ยังครั่นคร้ามในพระบรมเดชานุภาพ ถึงกับย้ายที่ตั้งมั่นจากเมืองตองอูสลับกลับเมืองแปร เมื่อใดที่ได้ข่าวกองทัพกรุงธนบุรียกมาใกล้ ก็จะย้ายไปอยู่เมืองแปร ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปอีกในดินแดนพม่า หากเหตุการณ์ปกติก็จะประทับอยู่ที่เมืองตองอู เพราะกษัตริย์มังระของพม่าพระองค์นี้ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ตองอู



จากการที่พระเจ้ามังระของพม่านั้นเป็นนักการทหารที่มีฝีมือองค์หนึ่งของพม่ามาก่อนนั้น พระองค์ทรงรู้ดีถึงแสนยานุภาพในทางการทหารของกรุงธนบุรีว่ากองทัพพม่าของพระองค์นั้นไม่สามารถรับมือได้เพราะกองทัพพม่าใช้ช้างเป็นหลัก การวางกำลังตามแบบเบญจเสนา5ทัพของพระนเรศวรนั้นยิ่งทวีประสิทธิภาพมากเป็นทวีคูณเมื่อพระเจ้าตากสินฯทรงใช้กองทัพทหารม้าเป็นหลัก สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ และกองทหารปืนนกสับ การเคลื่อนกำลังพล การบำรุงรี้พลการใช้กองหนุนและหน่วยรบพิเศษบนหลังม้า เหล่านี้ล้วนแต่เป็นศาสตร์ทางทหารแบบใหม่ที่พระเจ้าตากสินฯทรงต่อยอดความรู้มาจากตำราพิชัยสงครามเบญจเสนาห้าทัพของพระนเรศวรฯทั้งสิ้น แม้แต่เวียดนาม อาณาจักรที่อยู่ห่างไกลกรุงธนบุรียิ่งนัก พระองค์ก็เสด็จยกทัพบกทัพเรือไปตีมาแล้ว แคว้นมลายู ปัตตานี ลานช้าง ลานนา เชียงตุง เชียงรุ้ง กองทัพกรุงธนบุรียาตราไปตีไปยึดมาแล้วทั้งสิ้น นี่คือตัวอย่างของอาณาจักรที่มีกองทัพเข้มแข็งเกรียงไกร ยาตราทัพไปทิศใดไพรีก็พินาศ***

****กรุงธนบุรีและพระเจ้าตากสินฯ เริ่มมีปัญหาในทางการปกครองจากการที่รับเอาขุนนางเก่าของอยุธยามารับราชการ ขุนนางพวกนี้รังเกียจพระองค์เรื่องสายเลือดและเชื้อชาติอยู่แล้วในใจ นานวันไปขุนนางพวกนี้มาเติบใหญ่ในทุกวงราชการ ทั้งทหารและพลเรือน เมื่อเริ่มมีอำนาจก็เข้าอีหรอบเดิมเหมือนเมื่อครั้งอยู่กรุงเก่า เริ่มแบ่งพรรคแย่งพวก เริ่มตั้งข้อเปิดประเด็นเรื่องคนจีนและขุนนางที่มีเชื้อสายจีน ทั้งๆที่คนเชื้อสายจีนอย่างพระองค์นี่แหล่ะที่ปลดแอกพม่าให้คนไทย ระบบศักดินาเก่าแบบอยุธยาเริ่มกลับมามีบทบาทแทนพ่อปกครองลูกแบบสุโขทัยที่พระเจ้าตากสินฯทรงนำมาใช้



ไม่นานความแตกแยกทางความคิดเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น และเริ่มลามเข้าสู่ในกองทัพ ทหารเชื้อสายจีนในกองทัพเริ่มไม่พอใจ ขุนนางทหารเริ่มแตกแยกกันเอง เริ่มหาผู้นำที่มีบารมีและยกให้เป็นหัวหน้ากลุ่ม ลางร้ายเริ่มปรากฎ กองทัพกรุงธนบุรีปราชัยเป็นครั้งแรกที่เมืองเขมร เพราะทหารแต่ละทัพระแวงกันเอง ไม่เร่งเดินทัพเพื่อสมทบทัพหลวงที่พระเจ้าตากสินฯทรงให้พระราชโอรสเป็นจอมทัพ ทัพต่างๆไม่บรรจบกันตามพิชัยสงครามดังที่เคยปฎิบัติ สุดท้ายเกิดกบฎที่เมืองหลวง นำโดยพระยาสรรค์ ขุนนางอยุธยาเก่าเชื้อสายไทยแท้ๆที่พระเจ้าตากสินทรงนำมาชุบเลี้ยง จนเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องยกทัพกลับจากเขมรมาปราบปราม และปราบดาภิเศกเป็นปฐมราชวงศ์จักรี หมดสิ้นยุคกรุงธนบุรี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา****

ประวัติกรุงธนบุรี


ประวัติกรุงธนบุรี


กรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งที่สามของไทย ระหว่าง พ.ศ.2310 - 2325 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมืองนี้มีชื่อว่า ธนบุรีศรีมหาสมุทร แต่ชาวตะวันตกมักเรียกกันว่า บางกอก ซึ่งอาจมาจาก บางเกาะ ด้วยสภาพพื้นที่เป็นรูปโค้งคล้ายเกือกม้ามองดูเหมือนเกาะ ปี พ.ศ. 1976 ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ธนบุรีมีฐานะเป็นเมืองท่านนอนสำหรับเก็บภาษีอากร ผู้ปกครองเขตนี้เรียกชื่อว่า “นายพระขนอนทณบุรี” ปี พ.ศ. 2065 ในรัชกาลของพระชัยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้โปรดให้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างปากคลองบางกอกน้อย และแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม

บริเวณหน้าวัดอรุณราชวราราม คลองลัดนี้กว้างขึ้นจนเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ เกิดความสะดวกแก่เรือสินค้าที่จะล่องไปอยุธยา ทำให้ความสำคัญของธนบุรีทวีขึ้นถึง พ.ศ.2100 ในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงสามารถกู้อิสรภาพคืนมาได้ภายในเวลา 6 - 7 เดือน

เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาเสียหายเกินกว่าจะบูรณะให้กลับดีดังเดิมได้ ประกอบกับกำลังทัพของพระองค์มีไม่พอเพียงที่จะรักษาพระนครได้อีกต่อไป จึงอพยพผู้คนมาสร้างราชธานีใหม่ขึ้นที่ธนบุรี ศูนย์กลางของกรุงธนบุรีแต่เดิมนั้นเป็นชุมชนเก่าตั้งอยู่แถบพระราชวังเดิม (กองทัพเรือในปัจจุบัน) ที่นี่มีป้อมสำคัญ ชื่อ ป้อมชื่อวิชัยประสิทธิ์ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้สร้างขึ้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2208 ป้อมที่สร้างขึ้นโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส

แต่เมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์ พระเพทราชา พระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อมาโปรดให้จับกุมทหารชาวฝรั่งเศสและรื้อป้อมนั้นลงเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดให้สร้างพระราชวังของพระองค์ขึ้นในที่ซึ่งเคยเป็นป้อมวิชัยประสิทธิ์ ตลอดระยะเวลา 14 ปี ของรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ รวบรวมแผ่นดินและผู้คนให้เป็นปึกแผ่น ราชธานีจึงรุ่งเรือง มั่งคั่ง และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร กรุงธนบุรีจึงเป็นศูนย์อำนาจทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองสามารถที่จะแทนที่กรุงศรีอยุธยาได้อย่างสมบูรณ์ หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งราชวงศ์จักรี โปรดให้ย้ายราชธานีไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและตั้งกรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ นับแต่นั้นมาธนบุรีจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แม้ว่ากรุงธนบุรีจะเป็นราชธานีอยู่เพียง 15 ปี ดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งชุมชนเก่าแก่มานาน ทั้งยังมีความสำคัญทางด้านเศรษฐศาสตร์มาก่อนเนื่องจากเคยเป็นเมืองหน้าด้านสำหรับเก็บภาษี เมืองนี้มีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนั้นธนบุรียังเป็นแหล่งรวมของผู้คนหลายหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม อาทิเช่น ชาวจีน มอญ อินเดีย ญี่ปุ่น และชาวฮอลันดา ซึ่งเข้ามาทำการค้าตั้งแต่สมัยอยุธยาหลักฐานที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ คลังสินค้าของฮอลันดาซึ่งตั้งอยู่ในเขตบางปะกอก ซึ่งเรียกว่านิวอัมสเตอร์ดัม

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี






ประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี





กรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งที่สามของไทย ระหว่าง พ.ศ.2310 - 2325 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมืองนี้มีชื่อว่า ธนบุรีศรีมหาสมุทร แต่ชาวตะวันตกมักเรียกกันว่า บางกอก ซึ่งอาจมาจาก บางเกาะ ด้วยสภาพพื้นที่เป็นรูปโค้งคล้ายเกือกม้ามองดูเหมือนเกาะ ปี พ.ศ. 1976 ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ธนบุรีมีฐานะเป็นเมืองท่านนอนสำหรับเก็บภาษีอากร ผู้ปกครองเขตนี้เรียกชื่อว่า “นายพระขนอนทณบุรี” ปี พ.ศ. 2065 ในรัชกาลของพระชัยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้โปรดให้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างปากคลองบางกอกน้อย และแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม บริเวณหน้าวัดอรุณราชวราราม คลองลัดนี้กว้างขึ้นจนเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ เกิดความสะดวกแก่เรือสินค้าที่จะล่องไปอยุธยา ทำให้ความสำคัญของธนบุรีทวีขึ้นถึง พ.ศ.2100 ในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงสามารถกู้อิสรภาพคืนมาได้ภายในเวลา 6 - 7 เดือน

เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาเสียหายเกินกว่าจะบูรณะให้กลับดีดังเดิมได้ ประกอบกับกำลังทัพของพระองค์มีไม่พอเพียงที่จะรักษาพระนครได้อีกต่อไป จึงอพยพผู้คนมาสร้างราชธานีใหม่ขึ้นที่ธนบุรี ศูนย์กลางของกรุงธนบุรีแต่เดิมนั้นเป็นชุมชนเก่าตั้งอยู่แถบพระราชวังเดิม (กองทัพเรือในปัจจุบัน) ที่นี่มีป้อมสำคัญ ชื่อ ป้อมชื่อวิชัยประสิทธิ์ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้สร้างขึ้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2208 ป้อมที่สร้างขึ้นโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส แต่เมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์ พระเพทราชา พระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อมาโปรดให้จับกุมทหารชาวฝรั่งเศสและรื้อป้อมนั้นลงเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดให้สร้างพระราชวังของพระองค์ขึ้นในที่ซึ่งเคยเป็นป้อมวิชัยประสิทธิ์ ตลอดระยะเวลา 14 ปี ของรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ รวบรวมแผ่นดินและผู้คนให้เป็นปึกแผ่น

ราชธานีจึงรุ่งเรือง มั่งคั่ง และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร กรุงธนบุรีจึงเป็นศูนย์อำนาจทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองสามารถที่จะแทนที่กรุงศรีอยุธยาได้อย่างสมบูรณ์ หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งราชวงศ์จักรี โปรดให้ย้ายราชธานีไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและตั้งกรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ นับแต่นั้นมาธนบุรีจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แม้ว่ากรุงธนบุรีจะเป็นราชธานีอยู่เพียง 15 ปี ดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งชุมชนเก่าแก่มานาน ทั้งยังมีความสำคัญทางด้านเศรษฐศาสตร์มาก่อนเนื่องจากเคยเป็นเมืองหน้าด้านสำหรับเก็บภาษี เมืองนี้มีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนั้นธนบุรียังเป็นแหล่งรวมของผู้คนหลายหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม อาทิเช่น ชาวจีน มอญ อินเดีย ญี่ปุ่น และชาวฮอลันดา ซึ่งเข้ามาทำการค้าตั้งแต่สมัยอยุธยาหลักฐานที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ คลังสินค้าของฮอลันดาซึ่งตั้งอยู่ในเขตบางปะกอก ซึ่งเรียกว่านิวอัมสเตอร์ดัม





อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรของคนไทยในช่วงเวลาสั้น ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2310 - 2325 มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังจากที่อาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการปล้นกรุงศรีอยุธยาของกองทัพพม่า ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน







สมัยกรุงธนบุรี
หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก ยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม พระองค์จึงย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า “ พระบรมราชาธิราชที่ ๔ " (แต่ประชาชนนิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ครองกรุงธนบุรีอยู่ ๑๕ ปี นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรี การตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้


๑.กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณืให้ดีเหมือนเดิมได้ กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้ ๒.ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย ๓.ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี

๒.ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย ๓.ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี

๓.ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี

การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลาย พอสรุปได้ดังนี้ การปกครองส่วนกลาง หรือ การปกครองในราชธานีีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมุติเทพ มีเจ้าฟ้าอินทรพิทักษ์ดำรงดำแหน่งพระมหาอุปราช มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือสมุหพระกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนา และอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก(มหาไทย) มียศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรมได้แก่

1. กรมเมือง (นครบาล) มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย

2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีพระยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี

3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี) มีพระยาโกษาธดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ

4. กรมนา (เกษตราธิการ) มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและเสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นาการปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมืองการปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับเสนาบดีจัตุสดมภ์ หัวเมืองชั้นในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก(ปทุมธานี)

หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นเจ้าเมือง ทำหน้าที่ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่ พิษณุโลก จันทบูรณ์ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท ได้แก่ สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวาได้แก่ ไชยบาดาล ชลบุรีหัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์, จำปาศักดิ์) กัมพูุชา (เขมร) และนครศรีธรรมราช วัชระ: เศรษฐกิจสมัยกรุงธนบุรี การเสียกรุงครั้งที่ 2ก่อให้เกิดความเสียหายย่อยยับแก่เศรษฐกิจไทย นอกเหนือจากชาวไทยต้องบาดเจ็บล้มตายในสงครามกับพม่าหลายหมื่นคนแล้ว ผู้รอดชีวิตจำนวนมากต้องอพยพหนีตายในสภาพอดอยากยากแค้น บางส่วนอพยพหนีเข้าป่า บางส่วนซัดเซพเนจรหาที่พักพิงใหม่ เมื่ออดอยากหนักเข้าจึงใช้วิธีปล้นสะดมฆ่าฟันกันเพื่อความอยู่รอด บ้างก็ล้มตายเพราะขาดอาหาร หรือไม่ก็ตายเพราะโรคระบาด พลเมืองบางส่วนก็หนีไปพึ่งพระบารมีพระเจ้ากรุงธนบุรี

หลังจากที่พระเจ้าตากสินได้ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้วได้ดำเนินวิธีการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจดังนี้

1. ทรงสละพระราชทรัพย์ซื้อข้าวสารจากต่างชาติที่นำมาขาย แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับราษฎรเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

2. ทรงเร่งรัดการทำนา เพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอ โดยการสนับสนุนให้ข้าราชการทำนาปรัง

3. ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ เพื่อนำรายได้มาใช้เกี่ยวกับการทำสงครามและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม รายได้เกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ การเก็บภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ ภาษีขาเข้า - ภาษีขาออก

4. ทรงดำเนินนโยบายประหยัด โดยการใช้ของที่เป็นเครื่องอุปโภค บริโภค ให้คุ้มค่ามากที่สุด แม้ว่าพระเจ้าตากสินจะพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แก้ไขปัญหาความอดอยากของประชาชน แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จนัก เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้

1.มีสงครามตลอดรัชกาล ทำให้ราษฎรไม่มีเวลาทำมาหากิน

2.เกิดภัยธรรมชาติ เช่น พ.ศ.2311 – พ.ศ.2312 ฝนแล้งติดต่อกัน ทำนาไม่ได้ผล ที่พอทำได้บ้างก็ถูกหนูกัดกินข้าวในนาและยุ้งฉาง รวมทั้งทรัพย์สินสิ่งของทั้งปวงเสียหาย จึงมีรับสั่งให้ราษฎรดักหนูนามาส่งกรมพระนครบาล ทำให้เหตุการณ์สงบลงไปได้

3.ผู้คนแยกย้ายกระจัดกระจายกัน ยังไม่มารวมกันเป็นปึกแผ่น

4.พ่อค้าชาติต่างๆยังไม่กล้ามาลงทุน เพราะสภาพการณ์บ้านเมืองไม่น่าวางใจนัก อีกประการหนึ่งเกรงจะถูกยึดทรัพย์สินเป็นของหลวง การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ค่อยได้ผลนัก ทั้งนี้เพราะต้องทำควบคู่ไปกับการทำสงครามด้วย แม้กระนั้นพระเจ้าตากสินก็พยายามส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ โดยส่งเสริมการต่อเรือพาณิชย์ อันเป็นผลให้มีหนทางเก็บภาษีเข้าท้องพระคลัง เรือค้าขายจากเมืองจีนมาติดต่อบ่อยครั้ง ใน พ.ศ.2324 คณะทูตจากกรุงธนบุรีเดินทางไปเมืองกวางตุ้ง นำพระราชสาสน์ไปเจริญทางพระราชไมตรีและได้เจรจาเรื่องการค้าด้วย

การศึกษาสมัยกรุงธนบุรีมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดกับวัง โดยวัดจะเป็นสถานศึกษาสำหรับราษฎรทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็กผู้ชายเพราะต้องไปศึกษาและพักอยู่กับพระที่วัด วิชาที่เรียนได้แก่ การอ่าน เขียนภาษาไทย ภาษาบาลี - สันสกฤต และวิชาเลข ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนวังเป็นสถานศึกษาสำหรับบุตรของพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่ วิชาที่เรียนส่วนใหญ่เน้นเรื่องการปกครอง วิชาการป้องกันตัว เพื่อเตรียมรับราชการต่อไปในอนาคต ส่วนวิชาชีพนั้นจะเป็นการศึกษากับพ่อแม่ คือ พ่อแม่ประกอบอาชีพอะไร ก็มักจะถ่ายทอดให้ลูกหลานทำต่อ เช่นวิชาแพทย์แผนโบราณ หรือวิชาช่างต่างๆ ส่วนเด็กผู้หญิงจะเรียนเพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้านแม่เรือนในอนาคต ดังนั้นการเรียนของเด็กผู้หญิงจะเรียนอยู่กับบ้าน มีแม่เป็นผู้สอน วิชาที่เรียน เช่น การเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การฝึกอบรมมารยาทของสตรี โดยพ่อแม่ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ การปรับปรุงฟื้นฟูประเทศด้านศาสนาสมัยกรุงธนบุรี พระพุทธศาสนาตกต่ำมากในช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อพระเจ้าตากสินขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงตั้งพระทัยจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่ พระราชภารกิจทางด้านศาสนา ได้แก่

1. นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ตามที่ต่างๆให้มาประชุมกันที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดประดู่ขึ้นเป็นพระสังฆราช และตั้งพระราชาคณะให้ปกครองพระอารามต่างๆในเขตกรุงธนบุรี

2. ในคราวเสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช พระองค์เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลที่พระอารามวัดพระศรีมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช และให้เชิญพระไตรปิฎกขึ้นมายังกรุงธนบุรี เพื่อคัดลอกจารไว้ทุกหมวด แล้วเชิญกลับไปนครศรีธรรมราชตามเดิม

3. เมื่อเสด็จหัวเมืองเหนือ พระเจ้าตากสินก็ทรงแต่งตั้งพระราชาคณะตามหัวเมืองต่างๆ และโปรดให้รวบรวมพระไตรปิฎกทางหัวเมืองเหนือมาสอบชำระที่กรุงธนบุรี แล้วให้ส่งกลับไปใช้เป็นฉบับหลวง
4 .ทรงอุปถัมภ์พระภิกษุ สามเณร ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทางศาสนาเป็นประจำ
5. ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง เช่น วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม)อันเป็นพระอารามหลวง และประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระพันปีหลวงกรมพระเทพามาตย์ นอกจากนี้เมื่อครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ใน พ.ศ.2321 ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ในกรุงธนบุรีด้วย สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น

1. พระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม

2. พระบรมวงศานุวงศ์

3. ขุนนางข้าราชการ

4. ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม

5. ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายเงินมาก สังคมไทยสมัยกรุงธนบุรีถูกควบคุมอย่างเข้มงวดมาก ด้วยเป็น เวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างอันตรายเพิ่งกอบกู้เอกราชคืนมาได้ ทั้งประสบความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ผู้คนหลบหนีเข้าป่าอย่างมากมาย ถูกกวาดต้อนไปพม่าก็มีมาก นอกนั้นต่างก็พยายามเอาตัวรอดโดยการตั้งเป็นก๊ก เป็นเหล่า ครั้นกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ก็ยังต้องระมัดระวังภัยจากพม่าที่จะมาโจมตีอีก การควบคุมกำลังคนจึงมีความสำคัญมาก เพราะถ้ามีผู้คนน้อย ก็จะทำให้พ่ายแพ้แก่ข้าศึกศัตรูได้ ผู้คนในกรุงธนบุรีถูกควบคุมโดยการสักเลก ผู้ที่ถูกสักเลกทั้งหลายเรียกกันว่าไพร่หลวง ซึ่งมีหน้าที่รับราชการปีละ 6 เดือน โดยมาทำราชการหนึ่งเดือน และหยุดพักผ่อนไปทำมาหากินหนึ่งเดือนสลับกันไป ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าเข้าเดือนออกเดือน มีไพร่หลวงอีกพวกหนึ่งเรียกว่าไพร่ส่วย คือเป็นไพร่ที่ส่งส่วยเป็นสิ่งของหรือเงินแทนการรับใช้แรงงานแก่ทางราชการ ส่วนไพร่สมเป็นไพร่ที่สังกัดมูลนายรับใช้แต่เจ้านายของตนเอง เพราะพวกนี้ถูกแยกเป็นอีกพวกหนึ่งเด็ดขาดไปเลย แต่บางครั้งไพร่สมก็ถูกแปลงมาเป็นไพร่หลวงได้เหมือนกัน การสักเลกก็เพื่อเป็นการลงทะเบียนชายฉกรรจ์เป็นไพร่หลวงเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงและหลบหนี